แผงโซลาร์เซลล์ เป็นตัวช่วยสำคัญในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า ในรูปแบบของพลังงานที่ใช้ในบ้านและธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์มีความสามารถในการดูดและแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้ นับว่าเป็นหัวเลือกที่ดีที่จะช่วยในการลดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนได้ไม่น้อย

การทำงานของแผงโซลาร์เซลล์

  • การดูดแสงอาทิตย์

เมื่อแสงอาทิตย์โดนแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์โซลาร์ (solar cells) จะทำการดูดแสงอาทิตย์เข้ามาผ่านตัวแผงโซลาร์เซลล์

  • การกระตุ้นอิเล็กตรอน

การดูดพลังงานจากแสงอาทิตย์ ทำให้อิเล็กตรอนในแผงโซลาร์เซลล์ถูกกระตุ้นให้เคลื่อนที่ การกระตุ้นนี้ทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ผ่านอนุภาคต่าง ๆ ในโครงสร้างของโซลาร์เซลล์ เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้า

  • การสร้างกระแสไฟฟ้า

การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนผ่านอนุภาคต่าง ๆ ในแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า กระแสนี้เป็นไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้และถูกนำออกจากแผงโซลาร์เซลล์ผ่านสายเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า

  • การแปลงกระแสไฟฟ้า

กระแสไฟฟ้าที่สร้างขึ้นมาจากแผงโซลาร์เซลล์ ต้องถูกแปลงให้มีรูปแบบและแรงดันที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการนี้คืออินเวอร์เตอร์ (inverter) ซึ่งทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันที่เหมาะกับการใช้งานได้ในบ้านหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในครัวเรือน

  • การใช้งานหรือจ่ายไฟฟ้า

กระแสไฟฟ้าที่ถูกแปลงและทำให้เหมาะสมจากอินเวอร์เตอร์นี้สามารถนำมาใช้งานในบ้านตามปกติ หรือส่งไปยังเครือข่ายไฟฟ้าสาธารณะได้

บ้านแบบไหนที่เหมาะกับการติดโซลาร์เซลล์

  • บ้านที่มีค่าไฟ 2,000 บาทขึ้นไป
  • บ้านหรืออาคารที่ใช้ไฟฟ้าใช้ช่วงกลางวัน เช่น โฮมออฟฟิศ ร้านค้า บ้านผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น
  •  บ้านที่ได้รับแสงอาทิตย์ตลอดเวลา เช่น บ้านพักตากอากาศ เป็นต้น
  • บ้านที่มีผู้อยู่อาศัยค่อนข้างเยอะ เช่น 5-6 คน
  • อาคารหรือโรงงานขนาดใหญ่

ติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบไหนที่คุ้มสำหรับเรา

1. แผงโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด (On Grid) สำหรับใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน

เหมาะสำหรับบ้านที่มีคนอยู่ในช่วงกลางวัน ทำให้ต้องใช้ไฟค่อนข้างมาก ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์แบบนี้ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เองได้เลย โดยไม่ต้องพึ่งแบตเตอรี่ คืนทุนได้เร็ว อีกทั้งยังสามารถขายไฟฟ้าคืนกับการไฟฟ้าได้อีกด้วย

2. ระบบออฟกริด (Off Grid) สำหรับพื้นที่โล่ง ๆ

เหมาะสำหรับบ้านพักตากอากาศหรือพื้นที่ไร่นา หรือพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าถึงได้ยาก ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์แบบนี้ ไม่ต้องขออนุญาตให้ยุ่งยาก เนื่องจากไม่ต้องเชื่อมต่อกับการไฟฟ้าเลย แต่ต้องมีการติดตั้งแบตเตอรี่เพื่อใช้ในการสำรองไฟในตอนกลางคืน หากวันไหนไม่มีแดดติดต่อกันหลายวัน อาจทำให้พลังงานไม่พอใช้

3. ระบบไฮบริด (Hybrid) สำหรับใช้ไฟฟ้าทั้งกลางวันและกลางคืน

เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่บ้านแบบทั้งวันทั้งคืน เช่น ผู้ที่ทำงานแบบ Work From Home ร้านค้าที่ต้องแช่ของสดตลอดเวลา เป็นต้น โดยจะผลิตไฟฟ้าไปเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เหมาะที่จะใช้เป็นไฟฉุกเฉินได้ แต่ระบบนี้ใช้เวลาคืนทุนค่อนข้างนาน เลยไม่สามารถขายไฟฟ้าคืนการไฟฟ้าได้

 

อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านแผงโซลาร์เซลล์หรือบริษัทที่จำหน่ายระบบโซลาร์เซลล์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม รวมถึงตรวจสอบว่าบ้านของเราเหมาะสมสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์หรือไม่ เพื่อสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *