โซล่าร์เซลล์ ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการทำงานของโซล่าร์เซลล์เป็นการแปลงพลังงานโฟตอนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของพลังงานนั้นมาจากปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก ที่เกิดเมื่อแสงตกกระทบกับสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิกอนที่ทำให้คุณสมบัติของสารเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กระแสไฟฟ้าที่โซล่าร์เซลล์ผลิตได้นั้นขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ และแสงอาทิตย์ในแต่ละวัน

แผงโซล่าร์เซลล์ (Photovoltaics หรือ Solar Panel) คือการรวมเซลล์โซล่าร์เซลล์เข้าไว้ด้วยกันจำนวนมาก และต่อวงจรรวมกันเพื่อทำให้เกิดความสามารถในการผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้า โดยกระแสไฟฟ้าที่ได้จะเป็นกระแสตรงเพียงเท่านั้น ต้องทำการแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นกระแสสลับก่อนนำมาใช้งาน

แผงโซล่าร์เซลล์ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันมีทั้งหมด 3 ประเภท คือ

1.โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

แผงโซล่าร์เซลล์โมโนคริตัลไลน์เป็นแผงโซล่าร์เซลล์ที่ทำมาจากผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยวที่มีความบริสุทธิ์สูง ซึ่งมีความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงแม้ในวันที่มีแสงอาทิตย์น้อย และแผงโซล่าร์เซลล์ชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าแผงโซล่าร์เซลล์ชนิดอื่นๆ มากถึง 4 เท่า นอกจากประสิทธิภาพการทำงานสูงแล้ว อายุการใช้งานของแผงชนิดนี้ก็ยังสามารถใช้งานได้นานมากอีกด้วย

ลักษณะของแผงโซล่าร์เซลล์ชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยลบมุมออกทั้งสี่มุม สีดำเข้ม

ข้อดีของแผงโซล่าร์เซลล์แบบโมโนคริตัลไลน์

  • มีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่าแผงชนิดอื่นถึง 4 เท่า
  • มีอายุการใช้งานาวนานมากกว่า 25 ปี
  • ใช้พื้นที่น้อยและสามารถผลิตไฟฟ้าได้มาก
  • ผลิตไฟฟ้าได้แม้มีแสน้อย

ข้อเสียของแผงโซล่าร์เซลล์แบบโมโนคริตัลไลน์

  • มีราคาสูงกว่าแผงโซล่าร์ชนิดอื่น
  • หากแผงมีความสกปรก หรือตัวแผงถูกบังแสงในบางพื้นที่ของแผง จะทำให้อินเวอร์เตอร์ไหม้ได้

2.โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

แผงโซล่าร์เซลล์โพลีคริตัลไลน์ หรือที่เรียกอีกชื่อคือ มัลติ-คลิตัลไลน์ เป็นแผงโซล่าร์เซลล์ที่ทำมาจากผลึกซิลิกอนแบบเหลวที่ถูกหล่อลงบนโมลด์สี่เหลี่ยม และถุกตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมบางๆ แผงชนิดนี้จะใช้ผลึกซิลิกอนที่น้อยกว่าแผงแบบโมโนคริตัลไลน์ แต่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง

ลักษณะของแผงโซล่าร์เซลล์แบบโพลีคริตัลไลน์จะมีลักษณะสี่เหลี่ยมที่ไม่ตัดมุมออก มีสีออกน้ำเงินแต่ไม่เข้มมาก

ข้อดีของแผงโล่าร์ดซลล์แบบโพลีคริตัลไลน์

  • ราคาถูกกว่า แผงแบบโมโนคริตัลลน์
  • ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง
  • อายุการใช้งาน 20-25 ปี

ข้อเสียของแผงโซล่าร์เซลล์แบบโพลีคริตัลไลน์

  • ประสิทธิภาพในการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 13-16%
  • ใช้พื้นที่มากกว่าแผงแบบโมโนคริตัลไลน์
  • มีสีน้ำเงิน ซึ่งอาจทำให้ไม่เข้ากับการดีไซน์ของบ้านเรือน หรือสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

3.แผงโซลาร์เซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells:TFSC)

แผงโซล่าร์เซลล์แบบฟิล์มบางทำจากสารที่มีความสามารถใการเปลี่ยนแปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยขั้นตอนการผลิตจะเป็นการฉาบสารลงบนตัวฟิล์มบางๆ และวางซ้อนหันหลายๆชั้น ซึ่งแผงโซล่าร์เซลล์แบบฟิล์มบางจะมีมากมายหลายชนิดขึ้นอยู่กับสารที่ใช้ เช่น Amorphous Silicon (a-Si), Organic Photovoltaic Cells (OPC), Cadmium Telluride (CdTe), Cropper Indium Gallium Selenide (CIS/CIGS) โดยทั่วไปแผงโซล่าร์เซลล์ชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมสำหรับการใช้งานกับอาคารหรือที่พักอาศัย

ข้อดีของแผงโซล่าร์เซลล์แบบฟิล์มบาง

  • ราคาถูกที่สุด ในบรรดาแผงโซล่าร์เซลล์ชนิดอื่น
  • มีผลกระทบน้อยกว่า หากอยู่ในพื้นที่อุณหภูมิสูง
  • ความสกปรกของแผงไม่ทำให้เกิดปัญหาวงจรไหม้เหมือนแผงชนิดอื่น

ข้อเสียของแผงโซล่าร์เซลล์แบบฟิล์มบาง

  • ใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก
  • ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำถึง 7-13%
  • ระยะการรับประกันสั้นหว่าแผงชนิดอื่น
  • ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์สูง เนื่องจากต้องใช้สายไฟและโครงสร้างเยอะ

การเลือกใช้แผงโซลล่าร์เซลล์ให้เหมาะกับการใช้งานและกำลังทรัพย์ในการลงทุนนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ผู้ใช้ต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการลงทุน เพื่อการลงทุนที่คุ้มค่ามากที่สุด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *